เจียด! 3.2 พันล้าน “เศรษฐกิจฐานรากปี 65” แผนเงินกู้มหาดไทย ตามกรอบ 1 หมื่นล้าน ลง 76 จังหวัด ส่งลงท้องถิ่น ตามบัญชา 6 รองนายกฯ เผย สองรอบแรก 47 จังหวัด ผ่าน 1,316 โครงการ จากที่เสนอ 2,721 โครงการ “อุทัยฯ-อุดรฯ-ศรีสะเกษ-สุราษฎร์-สงขลา” ได้รับเดิน 100 ล้าน ส่วนพรรครัฐบาลรับลูกเดินหน้าทันที
วันนี้ (24 มิ.ย.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า สุดสัปดาห์นี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เวียนหนังสือถึงรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย เพื่อรับทราบมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ต่อผลการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 ของกระทรวงมหาดไทย (มท.) กรอบวงเงินจำนวน 1 หมื่นล้านบาทต่อ 76 จังหวัด
ซึ่งเป็นส่วนหนื่งของกรอบแผนงาน หรือโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 กรอบวงเงิน 170,000 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรี 21 ก.ย. 2564 ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ฯ
เป็นโครงการที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด ที่มี 6 รองนายกรัฐมนตรี กำกับ และติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคพิจารณา มีกระทรวงมหาดไทย สนับสนุนผ่าน 18 เขตตรวจราชการ
ล่าสุด ครม.เห็นชอบ ข้อเสนอดำเนินการ 1,316 โครงการ จากที่เสนอ 2,721 โครงการ ใน 2 ครั้งแรก จำนวน 47 จังหวัด วงเงินรวม 3,271,034,570 บาท พบว่า กว่าร้อยละ 96.7 เป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการฟื้นตัวแลพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เช่น สร้าง/ซ้อมถนนลาดยาง/ระบบน้ำประปาหมู่บ้าน
เป็นโครงการที่เสนอครั้งแรก จำนวน 29 จังหวัด 919 โครงการ วงเงิน 2,300122,178 บาท ประกอบด้วย จ.พิษณุโลก 17 โครงการ 66,420,600 บาท จ.เพชรบูรณ์ 27 โครงการ 51,452,200 บาท
จ.อุตรดิตถ์ 24 โครงการ 75,058,200 บาท จ.นครสวรรค์ 34 โครงการ 77,595,800 บาท จ.อุทัยธานี 37 โครงการ 109,532,800 บาท จ.กำแพงเพชร 52 โครงการ 72,600,900 บาท และ จ.พิจิตร 26 โครงการ 63,952,200 บาท
จ.อุดรธานี 24 โครงการ 103,089,000 บาท จ.เลย 14 โครงการ 45,025,600 บาท จ.หนองคาย 20 โครงการ 59,384,380 บาท จ.หนองบัวลำภู 20 โครงการ 79,733,200 บาท
จ.นครพนม 13 โครงการ 58,865,900 บาท จ.มหาสารคาม 164 โครงการ 91,302,500 บาท จ.อุบลราชธานี 15 โครงการ 66,206,600 บาท จ.ศรีสะเกษ 69 โครงการ 116,395,500 บาท และ จ.อำนาจเจริญ 34 โครงการ 72,754,603 บาท
จ.นนทบุรี 16 โครงการ 51,192,000 บาท จ.สุพรรณบุรี 49 โครงการ 82,672,800 บาท จ.เพชรบุรี 28 โครงการ 80,479,123 บาท และ จ.สมุทรสงคราม 19 โครงการ 50,994,440 บาท
จ.ฉะเชิงเทรา 9 โครงการ 77,539800 บาท จ.จันทบุรี 30 โครงการ 91,634,900 บาท และ จ.ตราด 36 โครงการ 74,268,200 บาท
จ.สุราษฎร์ธานี 48 โครงการ 134,016,200 บาท จ.ชุมพร 22 โครงการ 83,574,000 บาท จ.นครศรีธรรมราช 20 โครงการ 93,804,800 บาท จ.ตรัง 10 โครงการ 81,802,400 บาท จ.ระนอง 21 โครงการ 85,425,232 บาท และ จ.สตูล 21 โครงการ 83,348,300 บาท
โครงการที่เสนอครั้งที่ 2 จำนวน 18 จังหวัด 397 โครงการ วงเงิน 970,912,392 บาท ประกอบด้วย จ.ลำพูน 31 โครงการ 47,090,250 บาท จ.ลำปาง 30 โครงการ 50,655,700 บาท จ.แม่ฮ่องสอน 18 โครงการ 45,737,200 บาท
จ.น่าน 15 โครงการ 52,211,900 บาท จ.ตาก 35 โครงการ 62,357,012 บาท และ จ.สุโขทัย 37 โครงการ 37,467,400 บาท
จ.บึงกาฬ 18 โครงการ 52,239,300 บาท จ.ร้อยเอ็ด 41 โครงการ 41,336,700 บาท จ.นครราชสีมา 23 โครงการ 71,328,610 บาท และ จ.ยโสธร 27 โครงการ 45,920,800 บาท
จ.ปทุมธานี 7 โครงการ 35,126,610 บาท จ.ประจวบคีรีขันธ์ 23 โครงการ 47,434,100 บาท
จ.ชลบุรี 15 โครงการ 42,316,600 บาท
จ.พัทลุง 18 โครงการ 56,437,600 บาท จ.สงขลา 20 โครงการ 111,446,100 บาท จ.พังงา 11 โครงการ 40,181,100 บาท
จ.ยะลา 10 โครงการ 32,875,200 บาท และ จ.ปัตตานี 18 โครงการ 68,450,720 บาท
เป็นโครงการช่วยเหลือ สถานประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการทั่วไป แรงงานในระบบ ประชาชนทั่วไป เกษตรกร สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร) วิสาหกิจชุมชน ผู้ว่างงาน และวัยแรงงานที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน
โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามกรอบระยะเวลาดำเนินการ ถึง ธ.ค. 2565
มีรายงานว่า เมื่อต้นสัปดาห์ ทีมนโยบายพรรคพลังประชารัฐ และทีมเศรษฐกิจฐานรากของพรรค ได้หารือเพื่อขับเคลื่อน “เศรษฐกิจฐานราก”
โดยตอนหนึ่งระบุว่า พรรคพลังประชารัฐจะเร่งดำเนินการ ผนึกกำลังทุกภาคส่วนเพื่อเร่งแก้และตอบโจทย์ปัญหาให้เศรษฐกิจฐานรากและชุมชนอย่างยั่งยืน
“การปฏิรูปเศรษฐกิจไทย ต้องกล้ารื้อที่ฐานราก-กล้าตั้งเป้าพ้นกับดักความยากจน โดยจะแก้ที่ฐานรากแบบคู่ขนาน เพื่อนำไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ”
เมื่อ ปีงบประมาณ 2564 ครม. เห็นชอบ “โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก” : ระดับพื้นที่ กรอบวงเงิน 45,000 ล้านบาท ใน 18 เขตตรวจราชการ