วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บึงมาย หนองน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ เนื้อที่กว่า 7,000 ไร่ ครอบคลุม ตำบลด่านแม่คำมัน ตำบลไผ่ล้อม ตำบลทุ่งยั้ง ของอำเภอลับแล และตำบลข่อยสูง ของอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นพื้นที่รับน้ำและเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร ด้วยเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ทำให้มีสัตว์ น้ำจืด ทั้ง กุ้ง หอย ปู ปลา จำนวนมากและหลากหลายชนิด แต่ด้วยภาวะภัยแล้งส่งผลให้ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง จากหนองน้ำขนาดใหญ่ ล่าสุดมองเห็นเนินดินและน้ำเป็นแอ่งๆ ชาวบ้านต่างใช้วิกฤติเป็นโอกาส ดักจับสัตว์น้ำ เพื่อนำไปขายและแปรรูป สร้างรายได้ ช่วงลดพื้นที่ทำนาปรัง
- ทหารสกัดรถกระบะเตรียมส่งข้ามพรมแดน 2 คัน
- แม่ฮ่องสอนซ้อมเสมือนจริงฝึกดับไฟป่า
- รวบหนุ่มชิงรถจจย.นักศึกษาสาวราชภัฏ
กระนั้น ด้วยระดับน้ำที่ลดต่ำ นอกจากชาวบ้านจะมีแหล่งอาหารแล้ว ยังพบสิ่งที่หาดูได้ยาก หรือปัจจุบันแทบไม่มีใครรู้จัก เพราะจะสามารถมองเห็นได้ช่วงที่น้ำลดต่ำเท่านั้น ที่บึงมายแห่งนี้ นั่นก็คือ รังไข่กุ้งฝอย ความมหัศจรรย์ใต้น้ำ
นายจำรัส เฟื่องมณี หนึ่งในเกษตรกรที่ยึดอาชีพประมงบึงมาย และเน้นการดักจับกุ้งฝอยขายให้พ่อค้าแม่ค้า กิโลกรัมละ 200 บาท บอกว่า น้ำบึงมายปีนี้ลดต่ำทำให้ต้นไมยราบยักษ์ เป็นไม้พุ่มมีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร จากที่อยู่ใต้น้ำ โผล่ให้เห็นเต็มบึงมายและตามกิ่งของไมยราบยักษ์ จะมีก้อนสีคล้ายเปลือกไข่ ขนาดความยาว 1 ฟุต เกาะเต็มไปหมด เมื่อเดินเข้าไปใกล้ๆ พบว่า คือ “รังไข่กุ้งฝอย” ซึ่งหาดูยาก และแทบไม่มีใครรู้จัก คนส่วนใหญ่รู้จักแต่กุ้งฝอย หรือกุ้งเต้น แต่ไม่เคยเห็นรังของกุ้งฝอย
สำหรับลักษณะของรังไข่กุ้งฝอย จะคล้ายใยบวบขัดผิว มีรูขนาดเล็กๆๆ เต็มไปหมด เป็นการพากเพียรของกุ้งที่สร้างรังเพื่อวางไข่ รังไข่ 1 รังที่พบ จะมีไข่ที่กลายเป็นกุ้งฝอยมากกว่า 1 แสนตัว ที่โผล่ให้เห็นเป็นรังไข่ร้าง หรือ รังไข่ที่กุ้งเป็นตัวเต็มวัยแล้ว
ทั้งนี้ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ นำไปเป็นสื่อการเรียนการสอน ให้นักศึกษา และคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้วงจรชีวิตของกุ้งฝอย และหากน้ำในบึงมายไม่ลดก็ไม่สามารถมองเห็นรังไข่กุ้งฝอยได้ ตนจับปลากว่า 20 ปี นานๆจะเห็นครั้ง ดังนั้นช่วงนี้มาบึงมายจะเห็นความอัศจรรย์ของสัตว์น้ำ โดยเฉพาะรังไข่กุ้งฝอย รวมไปถึงวิถีชีวิตชาวนา ช่วงแล้งที่หันมาจับสัตว์น้ำสร้างรายได้
เรื่องโดย บุญพิมพ์ ใบยา | ภาพโดย บุญพิมพ์ ใบยา