‘พีมูฟ’ ล้อมวงคุย 119 เครือข่าย หลังเคลื่อนขบวนตามหา ‘บิ๊กป้อม’ ยันพร้อมยกระดับ
เมื่อวันที่ 23 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศช่วงค่ำบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ พีมูฟ รวมตัวล้อมวงคุย 119 เครือข่ายที่เข้าร่วมการเรียกร้อง โดยในช่วงบ่ายวันนี้มีการเคลื่อนขบวนไปยังบ้านพัก พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ย่านลาดพร้าว ในกิจกรรม ‘ตามหาประวิตร พิชิตครม.’
ต่อมา มีการเผยแพร่แถลงการณ์เรื่อง ขอประกาศยืนยันข้อเรียกร้อง ส่งสารถึงเพื่อน พร้อมยกระดับการเคลื่อนไหว ความดังนี้
พวกเราขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ พีมูฟ คือกลุ่มประชาชนที่รวมกลุ่มกันจากปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดจากนโยบายและกฎหมายของรัฐ กระทบต่อสิทธิของประชาชนในหลากหลายด้าน อาทิ สิทธิในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย สิทธิในการจัดการทรัพยากร สิทธิทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ สิทธิที่จะไม่ถูกแย่งยึดที่ดินเพื่อไปพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ของรัฐและเอกชน ตลอดจนสิทธิที่จะมีรัฐสวัสดิการ ซึ่งเรากลับมาเคลื่อนไหวครั้งนี้หลังจากปัญหาในพื้นที่ยังคงรุนแรง ขณะที่กฎหมายและนโยบายที่ภาคประชาชนเสนอนั้นกลับไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐบาลเผด็จการภายในการบริหารงานของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ส่วน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีนั้น ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของพีมูฟมาเป็นเวลา 1 ปี แต่ที่ผ่านมาเข้าร่วมประชุมแก้ไขปัญหากับพีมูฟเพียง 1 ครั้งเท่านั้น นอกนั้นเป็นการมอบหมายตัวแทน ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมานั้นจนถึงวันนี้ที่ปรากฏภาพของพีมูฟกลับมาชุมนุมอีกครั้ง สะท้อนชัดว่าปัญหาทั้งหมดนั้นแทบจะไม่ได้รับการแก้ไขให้มีความคืบหน้าแต่อย่างใด
เรากลับมาที่นี่เพื่อ “ทวงสิทธิ” และยืนยัน “กำหนดชีวิตของตัวเอง” ด้วยการชูข้อเรียกร้องเชิงนโยบาย 15 ข้อ ที่ยืนยันได้ว่านี่คือข้อเสนอที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ ครอบคลุมประชาชนหลายล้านคนทั่วประเทศ โดยมีข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้
1. เดินหน้าแนวทางการจัดการที่ดินแบบโฉนดชุมชน ยืนยันหลักสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากร
2. เร่งออก พ.ร.ฎ.นิรโทษกรรมคดีคนจนอันเกิดจากกฎหมายและนโยบายของรัฐ เช่น คดีทวงคืนผืนป่า คดีในที่ดินเอกชน
3. ทบทวนเนื้อหากฎหมายป่าไม้ที่กระทบชุมชนที่อยู่มาก่อน ได้แก่ พ.ร.บ.ป่าชุมชน, พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562
4. เดินหน้าแก้ปัญหาที่ดินการรถไฟทับซ้อนที่ดินชุมชน รวมทั้งปัญหาคดีความและการไล่รื้อ
5. เดินหน้ากฎหมายคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง
6. ปฏิรูปที่ดิน กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม ด้วยแนวนโยบายธนาคารที่ดิน
7. พัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ชาวบ้าน
8. ตั้งคณะทำงานติดตามนโยบายโฉนดชุมชนและนิรโทษกรรมคดีคนจน
9. เยียวยาปัญหาเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จ.ตาก
10. แก้ไขปัญหาที่ดินทุกประเภท
11. ตั้งคณะกรรมการเดินหน้าแนวทางคุ้มครองสิทธิชาติพันธุ์
12. ตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี และยุติคดีทั้งหมด
13. แก้ไขปัญหาสิทธิสถานะบุคคล
14. เดินหน้ารัฐสวัสดิการ
15. แก้ไขปัญหาโครงการอ่างเก็บน้ำกระทบชุมชน
ข้อเรียกร้องทั้งหมดของพีมูฟ เป็นข้อเรียกร้องเชิงนโยบายจากพี่น้องเครือข่ายทั่วประเทศ ถ้าเราอยู่ในสังคมที่เป็นระบอบประชาธิปไตย และรัฐบาลมองพวกเราเป็นคน คงไม่ปรากฏข้อเรียกร้องจากพวกเรามากมายขนาดนี้ พวกเราคงยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขบนผืนดินที่เป็นทั้งที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และผืนดินแห่งจิตวิญญาณของพวกเรา ไม่ใช่ต้องมานอนกลางดินกินกลางทราย อยู่บนท้องถนนในกรุงเทพมหานคร แล้วต้องมาเรียกร้องสิทธิที่ควรจะมีติดตัวตั้งแต่กำเนิด
พวกเรามาอยู่ที่นี่ แบกรับความหวังของผู้คนในชุมชนและประชาชนหลายหมู่เหล่าทั่วประเทศ เราขอยืนยันว่าเราไม่สามารถกลับบ้านไปด้วยคำมั่นสัญญาลมๆ แล้งๆ ได้อีก ฉะนั้นเราจึงยังขอยืนยันว่า ข้อเรียกร้องทั้งหมดของเราต้องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้มีมติเห็นชอบเท่านั้น หากข้อเรียกร้องแค่นี้รัฐบาลไม่สามารถทำได้ ก็คงแสดงให้เห็นอีกครั้งแล้วว่ารัฐบาลนี้ไร้ประสิทธิภาพและหมดสิ้นซึ่งความชอบธรรมในการบริหารประเทศต่อไป
เราขอส่งสารนี้ถึงพี่น้องประชาชนผู้เดือดร้อนจากการบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ทั่วประเทศ ทุกกลุ่ม ทุกประเด็นปัญหา ทุกข้อเรียกร้อง ขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมการเคลื่อนไหวกับ ขปส. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พร้อมหอบเสื้อผ้า เตรียมเสบียงอาหารและแรงใจมาให้พร้อม เพราะเราจะยืนยันปักหลักอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และจะระดับการเคลื่อนไหว ยกขบวนบุกทำเนียบรัฐบาลเพื่อ “ทวงสิทธิ” อันพึงมีและ “ศักดิ์ศรี” ในฐานะมนุษย์กลับคืนอย่างแน่นอน
พีมูฟทวงสิทธิ สร้างอำนาจกำหนดชีวิตประชาชน
23 มกราคม 2565
ณ ซอยลาดพร้าว 71
ทั้งนี้ เครือข่ายและองค์กรที่ลงนามเป็นแนวร่วมกับพีมูฟ ได้แก่
1. เครือข่ายสลัมสี่ภาค
2. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.)
3. สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
4. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.)
5. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.)
6. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)
7. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานจะนาวศรี
8. กลุ่มบางกลอยคืนถิ่น
9. ภาคี Save บางกลอย
10. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
11. เกษตรกร คนจน ปลดแอก
12. ลำพูนปลดแอก
13. เครือข่ายฮักน้ำของ
14. กป.อพช.เหนือ
15. ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ (CAN)
16. Lanna Project
17. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
18. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
19. Supporter Thailand (SPT)
20. ชุมพรถอนรากเผด็จการ
21. คณะลาบ 2563
22. Land Watch Thai
23. EEC Watch
24. กลุ่มไม่เอาเมืองหลวง
25. กลุ่มเฝ้าระวังอมก๋อย
26. เครือข่ายชาติพันธุ์ลำปาง
27. เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
28. คณะก่อการล้านนา
29. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.)
30. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมภาคตะวันตก
31. สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม (JELI)
32. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
33. เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์
34. มูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว
35. เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง
36. เฟมินิสต์ปลดแอก
37. กลุ่มนอนไบนารีแห่งประเทศไทย
38. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
39. ทะลุฟ้า
40. พิราบขาวเพื่อมวลชน
41. นักเรียนเลว
42. ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา
43. สหภาพคนทำงาน
44. ชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง
45. เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน
46. เครือข่ายชายฝั่งทะเลบูรพา๕จังหวัด ภาคตะวันออก
47. เครือป่าชุมชนรอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก
48. เครือข่ายอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ระยอง ประแสร์
49. สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
50. เครือข่ายยประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน
51. ศูนย์ข้อมูลสิทธิ มนุษยชนและสันติภาพ อีสาน
52. กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
53. กลุ่มฮักแม่น้ำเลย
54. กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นลุ่มน้ำลำพะเนียง
55. กลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำโขง ค้านเขื่อนปากชม อ.ปากชม จ.เลย
56. คณะกรรมการประชาชนติดตามโครงการผันน้ำโขงเลยชีมูล
57. เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีสาน
58. คณะกรรมการประชาชนคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล (คปน.) อีสาน
59. NU – Movement
60. ภูเก็ตปลดแอก
61. เครือข่ายผู้รักประชาธิปไตยแพร่
62. เครือข่ายติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
63. สมาพันธ์องค์กรชุมชนภาคอีสาน
64. ขบวนประชาชน 5 ภาค
65. สภาประชาชนภาคใต้
66. มูลนิธิภาคใต้สีเขียว
67. เครือข่ายเขียนอนาคตประเทศไทย
68. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
69. สมาคมรักษ์ทะเลไทย
70. เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม WE Fair
71. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมภาคตะวันตก
72. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมภาคตะวันตก
73. สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม (JELI)
74. กลุ่มเยาวชนศีขรภูมิ
75. มหาวิทยาลัยชาวบ้านลานหอยเสียบ อ.จะนะ จ.สงขลา
76. โครงการอาหารปันรัก
77. เครือข่ายพัฒนาชุมชนและสังคม
78. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
79. สมาคมดับบ้านดับเมือง
80. คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.)
81. มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย)
82. มูลนิธิป่า-ทะเลเพื่อชีวิต
83. กลุ่มนักกฎหมายอาสา (Law Long Beach)
84. นครพนมสิบ่ทน
85. Pop korn
86. ภูเก็ตปลดแอก
87. นครศรีเพื่อประชาธิปไตย
88. ฟันเฟืองอาชีวะนครสวรรค์
89. พรรควิฬาร์
90. ราษฎรเชียงราย
91. Artn’t
92. สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
93. เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา
94. ดาวดิน สามัญชน
95. เสรีเทยพลัส
96. อุตรดิตถ์ปลดแอก
97. อาสาปลดแอก
98. ดึงดิน
99. ประชาลาด
100. ขบวนการอีสานใหม่
101. คณะราษฎรชัยภูมิ
102. ราษฎรมูเตลู
103. กลุ่มปฏิวัติการศึกษาไทย
104. แม่สอดต้านเผด็จการ
105. สหพันธ์นักเรียนเพชรบูรณ์
106. ม็อบเฟส
107. คณะอุบลปลดแอก
108. คบเพลิง
109. ธรรมศาสตร์และการชุมนุม
110. เฟมินิสต์ปลดแอกอีสาน
111. We Volunteer
112. วงสามัญชน
113. ศูนย์เสริมสร้างองค์กรชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
114. สมัชชาประชาชนฅนเหนือล่าง
115. ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove)
116. กลุ่มเยาวชนพลเมืองลิง ลพบุรี
117. เครือข่ายพัฒนาชุมชนและสังคม
118. กรีนพีซ ประเทศไทย
119. ทะลุแก๊ส