วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 ที่ศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หมู่ 10 ต.ฝายหลวง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ นายชยพล รังสฤษฎ์นิธิกุล ประธานแปลงใหญ่ทุเรียนเมืองลับแล จ.อุตรดิตถ์ ตั้งเตารูปทรงกระสวย เริ่มขั้นตอนการเผาถ่านไบโอชาร์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร นั่นก็คือ เปลือกทุเรียน และผลทุเรียนที่ร่วงหล่น หลังเกษตรกรเก็บรวบรวมตากแดดให้แห้ง ผลิตเป็นถ่านชีวภาพ นำกลับไปใช้เพื่อฟื้นฟูสภาพดิน สู้ภัยแล้ง สร้างความชุ่มชื้น สู้แล้งและลดปัญหาขยะจากเปลือกทุเรียน
- ไม่รอด! เด้ง “ยิว” แฟน “เจนนี่” ปมไลฟ์ ตร.ทำงานที่บ้าน
- แม่หมอ “ยูกันดา” ผัว 7 คน อ้างช่วยผลิตลูกบูชาเทพ
- โควิด “สายพันธุ์ไทย” ลาม 34 ประเทศ พบกระจายเชื้อง่าย
นายชยพล กล่าวว่า เมื่อถึงฤดูกาลผลผลิตทุเรียนลับแล ออกสู่ตลาดช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เฉพาะสมาชิกแปลงใหญ่ทุเรียนเมืองลับแล ที่รวมกลุ่มกัน 121 คน คาดผลผลิตทุเรียนปีนี้ทั้ง หมอนทอง หลง-หลินลับแล ประมาณ 625 ตัน หรือ 625,000 กิโลกรัม ออกสู่ตลาด อย่างไรก็ตามทุเรียน 1 กิโลกรัม จะเป็นเปลือก 2 ส่วน เนื้อที่รับประทาน 1 ส่วน สำหรับผลผลิตทุเรียนโดยรวมทั้งจังหวัดอุตรดิตถ์เกือบ 3 หมื่นตัน จึงทำให้กลายเป็นขยะ หรือปัญหาที่พบในปัจจุบัน คือ มีการนำเปลือกทุเรียนทิ้งตามสถานที่ต่างๆ ชาวสวนทุเรียนลับแล จึงพยายามศึกษานำเปลือกทุเรียนกลับคืนสู่สวนทุเรียน แบบก่อเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการผลิตเป็น “ถ่านชีวภาพ” หรือ “ถ่านไบโอชาร์ทุเรียน”
โดยเลือกเผาในเตาทรงกระสวย ทรงที่สามารถควบคุมอุณหภูมิ การเผาไหม้ได้ง่าย เป็นการการเผาเปลือกทุเรียน ความร้อนที่ 400-500 องศาเซลเซียส ไม่สร้างมลภาวะ จะได้ถ่านจากเปลือกทุเรียนคุณภาพดี ทั้งนี้เปลือกทุเรียน รวมไปถึงผลทุเรียนที่ร่วงหล่นชาวสวนจะเก็บรวบรวม ตากให้แห้ง เพื่อนำมาทำถ่านทุเรียน จากการศึกษาแหล่งข้อมูล เมื่อเทียบจากถ่านไบโอชาร์อื่นๆ แล้ว ถ่านจากเปลือกทุเรียนมีธาตุอาหารหลักที่จำเป็นของพืชอยู่ในระดับสูง มีความพรุนสูง เหมาะการระบายอากาศ บำรุง ฟื้นฟูดิน ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน เพราะลักษณะความเป็นรูพรุนของถ่านเปลือกทุเรียน ทำหน้าที่กักเก็บน้ำนาน เมื่อดินอุดมสมบูรณ์ หน้าแล้งดินยังมีความชุ่มชื้น ประกอบกับทุเรียนลับแลปลูกตามภูเขา ทำให้ป่าเขียวขจีตามไปด้วย และส่งยังทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ที่สำคัญยังเป็นการลดปริมาณขยะจากเปลือกทุเรียนได้ด้วย
“วิธีการนำถ่านไบโอชาร์ทุเรียน มาใช้ประโยชน์ เพียงชาวสวนขุดดินรอบโคนต้นทุเรียนลึกประมาณ 15 เซนติเมตร นำถ่านใส่แล้วกลบดิน ง่ายๆแต่คุณประโยชน์มากมาย ซึ่งสวนทุเรียนผมและสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ฯต่างใช้กระบวนการดังกล่าว ทำให้ผลผลิตทุเรียนปีนี้ได้ผลดี” นายชยพล กล่าว
เรื่องโดย บุญพิมพ์ ใบยา | ภาพโดย บุญพิมพ์ ใบยา