วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2024

น้ำท่วม 2564: กว่า 20 จังหวัดยังเดือดร้อน ขณะที่นายกฯ สอน “ประชาชนต้องเรียนรู้และปรับตัว”

น้ำท่วมถนน

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

สภาพถนนสายชัยภูมิ-สีคิ้ว บริเวณใกล้กับเทศบาลตำบลบ้านค่าย อำเภอเมืองชัยภูมิ วันที่ 28 ก.ย. ยังคงมีน้ำท่วมขังและรถเล็กไม่สามารถเดินทางมุ่งหน้าเข้าสู่ตัวจังหวัดชัยภูมิได้ยกเว้นรถบรรทุกขนาดใหญ่เท่านั้น

ประชาชนในกว่า 20 จังหวัดยังคงได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักจากอุทกภัยที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องเพราะอิทธิพลของพายุเตี้ยนหมู่ ซึ่งแม้จะอ่อนกำลังลงแล้วแต่ปริมาณน้ำในแม่น้ำสายต่าง ๆ รวมทั้งอ่างเก็บน้ำหลายแห่งท้้งในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกยังคงมีมาก ทำให้กรมชลประทานต้องวางแผนการระบายน้ำซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหลายพื้นที่ ขณะที่สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (Gistda) เผยข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมวันนี้ (28 ก.ย.) พบว่ามีพื้นที่น้ำท่วมขังในภาคเหนือและภาคกลางรวมเกือบ 6 แสนไร่

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ระบุว่าระหว่างวันที่ 23-28 ก.ย. อิทธิพลจากพายุเตี้ยนหมู่ทำให้เกิดอุทกภัยใน 30 จังหวัด มีผู้เสียชีวิตแล้ว 6 ราย และสูญหาย 2 ราย ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 7 จังหวัด ส่วนอีก 23 จังหวัดยังมีประชาชนประสบภัยน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ซึ่งในจำนวนนี้มีจังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ ลพบุรี และ นครสวรรค์

ด้าน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โพสต์เฟซบุ๊กย้ำว่าแม้พายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่จะลดระดับความรุนแรงลงแล้ว แต่ ก็ยังคงมีฝนกระจายหลายพื้นที่ ส่งผลให้มีมวลน้ำสะสมหลายจังหวัด อาจเกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันได้ ซึ่งเขาได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนป้องกันและรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินจากอุทกภัยในพื้นที่เสี่ยง รวมทั้งเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย

นอกจากนี้ นายกฯ ยังได้สั่งการให้คณะรัฐมนตรีหมุนเวียนกันลงพื้นที่เพื่อให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ พร้อมกับแนะนำให้ประชาชนรู้จักเรียนรู้และปรับตัวเพื่อประกอบอาชีพต่อไปได้แม้ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่เกิดบ่อยและรุนแรงขึ้น

ชัยภูมิอาจต้องอยู่กับน้ำท่วมนานนับเดือน

ชัยภูมิเป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากน้ำท่วมครั้งนี้ และยังเป็นจังหวัดที่ ปภ. เฝ้าระวังและติดตามระดับน้ำเป็นพิเศษ ด้านผู้ว่าราชการจังหวัดคาดอาจใช้เวลา 1 เดือนกว่าน้ำที่ท่วมขังจะระบายออก

ภานุมาศ สงวนวงษ์ ช่างภาพของ Thai News Pix รายงานจากชุมชนในซอยเทศบาล 1 ต.บ้านค่าย อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ ว่าน้ำจากแม่น้ำชีไหลเข้าท่วมชุมชนแห่งนี้ตั้งแต่เวลาประมาณตี 2 ของวันที่ 27 ก.ย. เจ้าหน้าที่จึงต้องตัดกระแสไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย ทำให้ชาวบ้านต้องใช้ชีวิตอยู่ในความมืดท่ามกลางวงล้อมของน้ำ มีเพียงเทียนไขให้ความสว่างระหว่างรับประทานอาหารเย็น ขณะที่น้ำประปาก็ไม่มีใช้เพราะสถานีผลิตน้ำประปาก็ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเช่นกัน ทำให้ไม่สามารถเปิดเครื่องสูบน้ำผลิตและจ่ายน้ำประปาในพื้นที่ได้

ชาวบ้านเล่าว่าน้ำจากแม่น้ำชีทะลักเข้ามาตรงจุดที่แนวเขื่อนกั้นน้ำยังสร้างไม่เสร็จ และไหลเข้าท่วมชุมชนอย่างรวดเร็ว

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

ชาวบ้านคนหนึ่งเล่าให้ช่างภาพฟังว่า เธอเป็นแม่ค้าขายอาหารที่หน้าปากซอย และเพิ่งซื้อของสดมาแช่ในตู้เย็นก่อนที่น้ำจะท่วม เมื่อมีการตัดไฟทำให้ตู้เย็นใช้ไม่ได้ เธอกังวลว่าของสดที่ซื้อมาขายจะเสีย เพราะระหว่างนี้ก็ยังออกไปขายของไม่ได้ แต่ขณะนี้เธอและชาวบ้านก็ทำอะไรไม่ได้มากไปกว่ารอความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการ ซึ่งเธอก็ไม่คิดว่าจะได้รับความช่วยเหลืออะไรมากไปกว่าได้รับการแจกถุงยังชีพ

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ให้สัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์ MCOT เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดชัยภูมิว่า ขณะนี้เหลือเพียง 2 อำเภอในจังหวัดชัยภูมิที่ยังไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมได้แก่ อ.ซับใหญ่ และ อ.แก้งคร้อ ส่วนอีก 14 อำเภอต่างเผชิญกับน้ำท่วมในพื้นที่แล้ว โดยระดับน้ำในช่วงเช้าวันที่ 27 ก.ย. ที่ อ.บำเหน็จณรงค์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอำเภอที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เริ่มลดระดับลงแล้ว โดยระดับน้ำที่ท่วมบริเวณโรงพยาบาลบำเหน็จณรงค์อยู่ที่ประมาณ 1 เมตร เข้าพื้นที่ได้เฉพาะรถสูง ส่วนที่เขตเทศบาล อ.เมืองชัยภูมิ ระดับน้ำเพิ่มขึ้นมากในช่วงเย็นวันที่ 26 ก.ย. โดยระดับน้ำที่ท่วมในเขตชุมชนเพิ่มขึ้นประมาณ 30 เซนติเมตร บางจุดลึกถึงระดับ 1 เมตร ขณะที่ยังมีปริมาณน้ำจากเขื่อนลำปะทาวและเทือกเขาภูแลนคาไหลเข้ามาเติมเป็นระยะ ๆ

นายวิเชียรระบุว่า หากไม่มีฝนตกเพิ่มเติม อาจต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือน กว่าที่ระดับน้ำที่ท่วมขังจะระบายออกจนหมด

นายกฯ บอกประชาชนต้องปรับตัว

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวถึงการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.สุโขทัย เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลและกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กนช.) ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมชลประทานบรรเทาสถานการณ์ด้วยการเร่งระบายน้ำจากพื้นที่ตอนบน เข้าพื้นที่ลุ่มต่ำและแม่น้ำยม

นายกฯ อธิบายว่า จ.สุโขทัยเป็นจุดบรรจบลุ่มน้ำยม-น่านตอนล่าง รวมถึงมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มักจะมีน้ำล้นตลิ่ง และเข้าท่วมขังเป็นเวลานาน เมื่อมีพายุเข้าในครั้งนี้ จึงได้รับผลกระทบสูง

“การลงพื้นที่ครั้งนี้ ผมได้กำชับให้มีการดำเนินการแก้ปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดสุโขทัยอย่างยั่งยืนตามแผนงานที่รัฐบาลได้วางไว้แล้ว โดยในระยะสั้น จะเน้นการพัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก ระยะกลางเน้นการปรับปรุงลำน้ำที่ตื้นเขิน การปรับปรุงคลองระบายน้ำรอบเมืองสุโขทัย ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และสำหรับระยะยาว สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จะขับเคลื่อนการปรับปรุงคลองหกบาท คลองยม-น่าน ให้สามารถระบายน้ำได้ดีขึ้น พัฒนาแก้มลิงทะเลหลวง และแก้มลิงวังทองแดง รวมทั้งการเติมน้ำใต้ดินจากน้ำท่วมขังบริเวณบางระกำ ซึ่งจะทำให้ปัญหาอุทกภัยของจังหวัดสุโขทัยลดน้อยลงในอนาคต โดยรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะกำหนดแผนเผชิญเหตุสำหรับในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดอื่น ๆ เช่นเดียวกัน” พล.อ.ประยุทธ์ระบุในเฟซบุ๊กโพสต์

ที่มาของภาพ, facebook/ไทยคู่ฟ้า

คำบรรยายภาพ,

นายกฯ ลงตรวจสถานการณ์น้ำท่วมและเยี่ยมประชาชนที่ประสบอุทกภัยใน จ. สุโขทัย เมื่อวันที่ 26 ก.ย.

นายกฯ ระบุอีกว่าเรื่องน้ำท่วม-ฝนแล้งส่งผลกระทบต่อการทำมาหากินของประชาชนหลากหลายสาขาอาชีพ ดังนั้นประชาชนจึงจำเป็นต้องปรับตัว “เช่น พี่น้องเกษตรกรก็จำเป็นต้องมีอาชีพเสริม การแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชผลทางการเกษตร การค้าออนไลน์ เป็นต้น เพราะสภาพลมฟ้าอากาศในปัจจุบันมีความรุนแรงมากกว่าในอดีต เมื่อเกิดภัยพิบัติครั้งเดียวอาจทำให้หมดตัวได้ ทำให้ชีวิตตกอยู่ในความเสี่ยงที่คาดเดาไม่ได้”

“พี่น้องประชาชนทุกท่าน ต้องเรียนรู้และปรับตัวกับสิ่งใหม่ ๆ ที่ภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในรูปแบบของโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทั้งตนเองและสังคมรอบตัว สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดกลไกการทำงานที่เข้มแข็งในทุกชุมชน” นายกฯ ระบุ

ภาคเหนือ-ภาคกลางท่วมแล้วเกือบ 6 แสนไร่

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (Gistda) ระบุว่า ข้อมูลจากภาพจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 ของวันที่ 28 ก.ย. พบพื้นที่น้ำท่วมขังบริเวณบางส่วนของภาคเหนือและภาคกลาง 9 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 595,133 ไร่ มากที่สุดคือ จ. สุโขทัย มีพื้นที่น้ำท่วมขัง 222,431 ไร่ ตามด้วยนครสวรรค์ 139,498 ไร่ พิจิตร 128,290 ไร่ พิษณุโลก 74,410 ไร่ กำแพงเพชร 25,711 ไร่ อุตรดิตถ์ 2,717 ไร่ อุทัยธานี 1,193 ไร่ เพชรบูรณ์ 693 ไร่ และ ตาก 190 ไร่ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่ริมตลิ่ง

Gistda ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าขณะนี้มวลน้ำจากพื้นที่ดังกล่าวกำลังไหลลงสู่ทุ่งรับน้ำในเขตภาคกลางตอนล่าง ดังนั้นประชาชนที่อยู่ในจังหวัดภาคกลางตอนล่างและพื้นที่ใกล้เคียงจะต้องระมัดระวังผลกระทบจากน้ำท่วม

อุตรดิตถ์

อุตรดิตถ์

เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก

Related Posts

Next Post

บทความ แนะนำ

No Content Available

หมวดบทความ

การก่อสร้าง การค้าวัสดุก่อสร้าง การผลิต การบรรจุก๊าซ การผลิตซิเมนต์ ปูนขาว การผลิตน้ำแข็ง การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตเคมีภัณฑ์ การผสม บรรจุ กรด ด่าง การหล่อหลอม การกลึงโลหะ การเคลือบ ชุบ อาบขัดโลหะ การเลี้ยงสัตว์ กิจกรรม กิจการอื่นๆ ข่าว ตรวจหวย ธุรกิจ บริการซัก อบ รีด บริการติดตั้งประปา บริษัท ร้านค้า ร้านอาหาร วิถีชีวิต สถานที่ท่องเที่ยว สถานศึกษา สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1 สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 สพม.เขต 39 สมาคม หน่วยงานราชการ อบจ. อบต. อาหาร อุตรดิตถ์ เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ โรงงาน โรงพยาบาล บริการสุขภาพ โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนศิลปะและกีฬา โรงเรียนสอนวิชาชีพ โรงเรียนสามัญ โอทอป

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.