เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาวิณี สัตยาภรณ์ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงพบผู้ติดเชื้อในประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้โรงพยาบาลสนามยังมีความจำเป็น จากมติที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดอุตรดิตถ์ครั้งที่ 18/2564 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564 ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์เห็นชอบให้ ผู้แทนจังหวัดอุตรดิตถ์ ,สสจ.อุตรดิตถ์ , องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ ลงพื้นที่สำรวจและเตรียมความพร้อมการจัดตั้งศูนย์กักกันจังหวัดอุตรดิตถ์ (Local Quarantine) และโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติม แห่งที่ 2 และร่วมกับนายแพทย์เกษม ตั้งเกษมสำราญ นายแพทย์สาธารณสุข
© สนับสนุนโดย Nation Channel
ขณะที่ทางสสจ.อุตรดิตถ์ และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัย ประชุมสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 2 ผ่านระบบ Zoom กับประชาคมคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ วิทยาเขตทุ่งกะโล่ หลังจาดมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ได้เสนอให้ใช้ อาคารบริหารจัดการพื้นที่ทุ่งกะโล่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 2 โดยระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นไปตามมาตรฐานการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ทั้งระบบการกำจัดน้ำเสีย การจำกัดขยะมูลฝอย โดยเฉพาะขยะติดเชื้อ เนื่องจากจุดดังกล่าวอยู่ห่างจากชุมชน
© สนับสนุนโดย Nation Channel
สำนักงานสาธารณสุข จ.อุตรดิตถ์ ได้มีการเตรียมแผนรองรับการนำขยะมูลฝอยไปกำจัดอย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กลุ่มบุคลากรหรือประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงว่าสามารถป้องกันการแพร่เชื้อฯได้อย่างแน่นอน ขณะนี้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค. 64 และสามารถรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ถึง 100 เตียง และคาดว่าจะเปิดให้จังหวัดได้เข้ามาเตรียมความพร้อมจัดการพื้นที่ได้ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป
© สนับสนุนโดย Nation Channel
“้การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นนโยบายที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบหมายทุกมหาวิทยาลัยเตรียมความพร้อมให้ความร่วมมือกับจังหวัดในพื้นที่บริการ ซึ่งปัจจุบันมีโรงพยาบาลสนามที่จัดตั้งโดยมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวง อว. สามารถรองรับผู้ป่วยได้กว่าหมื่นเตียง โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศเตรียมการรองรับไว้กว่า 6,000 เตียง ซึ่งได้ทยอยเปิดใช้โรงพยาบาลสนามแล้ว เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เป็นต้น”รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาวิณี กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดอุตรดิตถ์ ยังคงมีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามกองทัพบก มทบ.35 อีกหนึ่งแห่ง เพื่อรองรับการระบาดโควิด-19 จ.อุตรดิตถ์ และใกล้เคียง จำนวน 100 เตียง ทั้งนี้ สถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จ.อุตรดิตถ์ ระลอก 3 หรือตั้งแต่เดือนเมษายน เป็นต้นมา ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสม 61 ราย รักษาในโรงพยาบาล 52 ราย รักษาหายแล้ว 9 ราย ซึ่งจาก 9 อำเภอ มีพื้นที่สีเขียวคือไม่พบผู้ติดเชื้อ 2 อำเภอคือ อ.บ้านโคก และ อ.น้ำปาด
Microsoft และคู่ค้าอาจได้รับค่าคอมมิชชันหากคุณซื้อบางสิ่งผ่านลิงก์ที่แนะนำในบทความนี้