(18มี.ค.64) โดรนเพื่อการเกษตร อีกนวัตกรรมหนึ่งที่เข้ามาเปลี่ยนโฉมเกษตร ปี2021 อำนวยความสะดวกให้กับเกษตรไทยในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา
กฤษณ์ ติลภัทร เจ้าของร้านพงเกษตรอุตรดิตถ์1999 ได้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ โดรนเพื่อการเกษตร ให้กับแอดมินอีจันว่า โดรนเริ่มเข้ามามีบทบาทกับเกษตรกรไทยเมื่อประมาณ 5-6 ปีที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ในประเทศญี่ปุ่นมี นวัตกรรม นี้มากว่า 30 ปีแล้ว จนมีการพัฒนาไปเป็น เฮลิคอปเตอร์เพื่อการเกษตรแล้ว แต่ในไทย โดรนเพื่อการเกษตร เริ่มจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในช่วงหลังๆนี้ ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรไทยได้มากเลยทีเดียว
โดรนเพื่อการเกษตร คืออะไร? คือโดรนที่ใช้ดำนวยความสะดวกในการพ่นยา หว่านปุ๋ย หรือ ใช้ส่งของพื้นราบขึ้นที่สูงได้ อำนวยความสะดวกกับเกษตรกรโดยตรง
โดรนเพื่อการเกษตร ใช้ในการพ่นยา หรือหว่านปุ๋ยให้กับพืชไร่ที่มีลำต้นไม่สูงมากอย่างเช่น ข้าว หรือ ข้าวโพด
ทำไมถึงต้องเลือกใช้โดรน?
เพราะโดรนช่วยลดระยะเวลาในการพ่นยา หรือหวานปุ๋ยลงได้มากเป็นเท่าตัว จากปกติต้องแบกถังขึ้นหลังเดินพ่น ใช้เวลาเป็นชั่วโมงกว่าจะพ่นครบ 1 ไร่ แต่เมื่อใช้โดรนในการพ่น ใช้เวลาเพียง 3-5 นาทีต่อไร่เท่านั้น ถ้าหากพ่น 30 ไร่ ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมงก็เสร็จแล้ว
นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมต้องมี โดรนเพื่อการเกษตร เพราะช่วยลดระยะเวลาในการพ่นยา และตัวเกษตรกรเองไม่ต้องสัมผัสกับตัวยาโดยตรงอีกด้วย
นอกจากนี้ คุณลำดวน เกตุทิม ( ลำดวน ) ชาวนาในอ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ เล่าว่าเมื่อก่อน ต้องแบกถังสารเคมี 30 ลิตร ลงไปในนาข้าวเดื่อพ่นสารเคมี แหวกต้นข้าวลงไปในนา ตัวเปียกชุ่มไปด้วยสารเคมี ถึงแม้จะพ่นไปแล้ว เสื้อผ้าที่ใส่ในการพ่นต้องทิ้งทั้งหมดเพราะซักก็ไม่หาย กลิ่นตัวมีเป็นกลิ่นยาฆ่าแมลง ตอนนั้นสุขภาพอ่อนแอมาก จนต้องหันมาจากคนงานพ่นยาต่อ แต่คนงานก็เดินเหยียบต้นข้าวเสียหาย จึงชักชวนลูกชายกลับมาช่วยทำนา แบบใช้โดรนเพื่อการเกษตร
คุณนิรุตติ์ เกตุทิม (คิมหันต์)อายุ32ปี ลูกชายคุณลำดวน เล่าว่า ตนเองทำงานอยู่ที่ภูเก็ตปีที่แล้ว(2563) โควิดระบาดหนักใน จ.ภูเก็ต จึงต้องย้ายกลับบ้าน ด้วยที่บ้านทำนาและแม่อยากให้ศึกษาการใช้โดรนในการพ่นยาอยากให้กลับมาศึกษาเทคโนโลยี โดรนเพื่อการเกษตร จะได้มาช่วยแบ่งเบาภาระทางบ้าน จึงกลับมาศึกษาการใช้ โดรนเพื่อการเกษตร อย่างจริงจังและซื้อมา 1 ตัว เพื่อใช้ในการพ่นยาไร่นาของตนเอง และรับจ้างพ่นยาให้กับสวนต่างๆหารายได้เลี้ยงครอบครัวอีกทาง โดยคิดค่าพ่นยา 60-120 บาท ต่อไร่ ขึ้นอยู่กับระยะทางและความยากง่ายของแต่ละงาน
เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรนั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวมันเอง หากเราเลือกใช้ให้ถูกวิธีก็จะเกิดประโยชน์สูงสุดในการทำเกษตรพืชไร่ และส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอีกด้วย.