ทั่วไทย 18 จังหวัดจมฝุ่น เหนือหนัก แม่ฮ่องสอนหนักสุดๆ 242 มคก./ลบม.กทม.จิ๊บๆเกิน 2 พื้นที่
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 11มีนาคม ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ(ศกพ.) กรมควบคุมมลพิษ(คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ปริมาณ PM2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานใน กรุงเทพฯ จ.เชียงราย จ.น่าน จ.แม่ฮ่องสอน จ.พะเยา จ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน จ.ลำปาง จ.แพร่ จ.อุตรดิตถ์ จ.สุโขทัย จ.ตาก จ.กำแพงเพชร จ.สระบุรี จ.หนองคาย จ.อุบลราชธานี จ.นครราชสีมา และ จ.บุรีรัมย์
ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ พบค่าฝุ่น ระหว่าง 32 – 248 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม) พบเป็นพื้นที่สีแดง(กระทบต่อสุขภาพ) 8 พื้นที่ ได้แก่ ค่าฝุ่นสูงสุดที่ ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน วัดค่าฝุ่นได้ 248 มคก.ลบ.ม., ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย, ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่, ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่, รพ.เทพรัตนฯ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่, ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่, ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน และ ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก
นอกจากนี้พบเป็นพื้นที่สีส้ม(เริ่มกระทบต่อสุขภาพ) อีก 11 พื้นที่ ได้แก่ ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง, ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง, ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง, ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย, ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน, ต.นาจักร อ.เมือง จ.แพร่, ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา, , ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน, ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร, ต.ธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย และต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตรวจวัดได้ 32 – 84 มคก./ลบ.ม. เกินค่ามาตรฐาน 3 พื้นที่ ได้แก่ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา, ต.มีชัย อ.เมือง จ.หนองคาย, ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ภาคกลางและตะวันตก ตรวจวัดได้ 14 – 59 มคก./ลบ.ม. เกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่ คือ ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี ภาคตะวันออก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 13 – 31 มคก./ลบ.ม. ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 12 – 26 มคก./ลบ.ม.
กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. ตรวจวัดได้ 22 – 53 มคก./ลบ.ม. เกินมาตรฐาน 2 พื้นที่ ได้แก่ บริเวณริมถนนลาดพร้าว ซอยลาดพร้าว 95 เขตวังทองหลาง จ.กรุงเทพฯ และริมถนนนวมินทร์ แยกบางกะปิ เขตบางกะปิ จ.กรุงเทพฯ
ประชาชนทั่วไป ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์ สำหรับประชาชนที่อยู่บริเวณพื้นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีแดง) ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์